ทิศ 6 หลักธรรมที่สอนให้เราปฏิบัติต่อบุคคลรอบด้าน พระพุทธเจ้าได้แบ่งบุคคลที่อยู่รอบตัวเราออกเป็น 6 ด้าน เปรียบเสมือนทิศทั้ง 6 ประกอบด้วย 1. ทิศเบื้องหน้า หรือ ทิศตะวันออก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง บุตร และ บิดา มารดา 2. ทิศเบื้องขวา หรือ ทิศใต้ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ศิษย์ และ ครูบาอาจารย์ 3. ทิศเบื้องหลัง หรือ ทิศตะวันตก หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง สามี และ ภรรยา 4. ทิศเบื้องซ้าย หรือ ทิศเหนือ หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง เพื่อน และ มิตรสหาย 5. ทิศเบื้องบน หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง ฆราวาส และ สมณะ 6. ทิศเบื้องล่าง หมายถึง การปฏิบัติต่อกันระหว่าง นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา |
พุทธมามกะ หมายถึง ผู้ประกาศตนเป็นชาวพุทธ นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึง แล้วปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มีขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมสถานที่ประกอบพิธีกรรม แล้วแต่ความเหมาะสม เช่นนิมนต์พระสงฆ์มาที่หอประชุมโรงเรียน หรือเดินทางไปที่วัด ประกอบพิธี ในพระอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ โดยจัดโต๊ะหมู่บูชา และเครื่องบูชา จัดอาสนสงฆ์ให้ครบตามจำนวนที่อาราธนาพระสงฆ์ไว้
2. ผู้ปกครองนำเด็ก หรือครูนำนักเรียน ไปแสดงตัวต่อพระสงฆ์ ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ ตามเวลาที่นัดหมาย
3. ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่ผู้ที่จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นั่งคุกเข่าแบบเทพธิดา,เทพบุตร ตามเพศพร้อมกับ ประนมมือและกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยพร้อมกัน
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ มีขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมสถานที่ประกอบพิธีกรรม แล้วแต่ความเหมาะสม เช่นนิมนต์พระสงฆ์มาที่หอประชุมโรงเรียน หรือเดินทางไปที่วัด ประกอบพิธี ในพระอุโบสถ หรือศาลาการเปรียญ โดยจัดโต๊ะหมู่บูชา และเครื่องบูชา จัดอาสนสงฆ์ให้ครบตามจำนวนที่อาราธนาพระสงฆ์ไว้
2. ผู้ปกครองนำเด็ก หรือครูนำนักเรียน ไปแสดงตัวต่อพระสงฆ์ ณ สถานที่ที่กำหนดไว้ ตามเวลาที่นัดหมาย
3. ประธานจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ขณะที่ผู้ที่จะแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นั่งคุกเข่าแบบเทพธิดา,เทพบุตร ตามเพศพร้อมกับ ประนมมือและกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยพร้อมกัน
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง ปูเชมะ | ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธเจ้าด้วยเครื่องสักการะนี้ |
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง ปูเชมะ | ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรมด้วยเครื่องสักการะนี้ |
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง ปูเชมะ | ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ด้วยเครื่องสักการะนี้ |
หมายเหตุ ถ้ากล่าวคนเดียว ให้เปลี่ยน คำว่า ปูเชมะ เป็น ปูเชมิ
4. หลังจากนั้นให้กล่าวคำปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะ ดังนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ |
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ |
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ |
เอสาหัง ภันเต สุจิระปะรินิพพุตัมปิ ตัง ภะคะวันตัง สะระนัง คัจฉามิ ธัมมัญจะ สังฆัญจะ พุทธะมามะโกติ มัง สังโฆ ธาเรตุ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแม้ปรินิพพานไปนานแล้วพร้อมทั้งพระธรรม และ พระสงฆ์ว่า เป็นสรณะที่พึ่ง ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแม้ปรินิพพานไปนานแล้วพร้อมทั้งพระธรรม และ พระสงฆ์ว่า เป็นสรณะที่พึ่ง ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นพุทธมามกะ
หมายเหตุ
ถ้าเป็นหญิงคนเดียว ให้เปลี่ยน คำว่า พุทธะมามะโกติ เป็น พุทธะมามิกาติ
แต่ถ้ากล่าวพร้อมกันหลายคน ให้เปลี่ยนคำว่า เอสาหัง เป็น เอเตมะยัง ให้ผู้หญิง เปลี่ยนเป็น เอตามะยัง
คำว่า คัจฉามิ เปลี่ยนเป็น คัจฉามะ และ พุทธะมามะโกติ เป็น พุทธะมามิกาติ และ มัง เป็น โน
5. ต่อจากนั้น ฟังโอวาทจากพระสงฆ์ สมาทานศีล และรับศีล ถวายจตุปัจจัย พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ำรับพร หลังจากนั้นกราบลาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นเสร็จพิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นิยมจัดทำเนื่องในโอกาส เด็กมีอายุ ประมาณ 7-15 ปี หรือโรงเรียนจัดทำในโอกาสเข้าปีการศึกษาใหม่ หรือมีผู้เลื่อมใสเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา
ถ้าเป็นหญิงคนเดียว ให้เปลี่ยน คำว่า พุทธะมามะโกติ เป็น พุทธะมามิกาติ
แต่ถ้ากล่าวพร้อมกันหลายคน ให้เปลี่ยนคำว่า เอสาหัง เป็น เอเตมะยัง ให้ผู้หญิง เปลี่ยนเป็น เอตามะยัง
คำว่า คัจฉามิ เปลี่ยนเป็น คัจฉามะ และ พุทธะมามะโกติ เป็น พุทธะมามิกาติ และ มัง เป็น โน
5. ต่อจากนั้น ฟังโอวาทจากพระสงฆ์ สมาทานศีล และรับศีล ถวายจตุปัจจัย พระสงฆ์อนุโมทนา กรวดน้ำรับพร หลังจากนั้นกราบลาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เป็นเสร็จพิธีการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ นิยมจัดทำเนื่องในโอกาส เด็กมีอายุ ประมาณ 7-15 ปี หรือโรงเรียนจัดทำในโอกาสเข้าปีการศึกษาใหม่ หรือมีผู้เลื่อมใสเปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น